วัดพระธาตุแม่เจดีย์ เวียงป่าเป้า เชียงราย
ประวัติความเป็นมาของ วัดพระธาตุแม่เจดีย์

ตำนานกล่าวว่า พระเจ้าอโนรธามังช่อกษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระไตรปิฏกพระบรมสารีริกธาตุและพระแก้วมรกตจากศรีลังกามายังเมือง พุกาม ระหว่างเดินทางกลับเรือสำเภาเกิดพลัดหลงไปยังปากอ่าวเมืองกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาได้ยึดเรือไว้พระเจ้าอโนรธามังช่อทรงแต่งทูตไปขอคืนแต่ ได้คืนเฉพาะพระไตรปิฏกกับพระบรมสารีริกธาตุเท่านั้นเมื่อเดินทางกลับมาถึง ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ทรงโปรดให้สร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระไตรปิฏก และพระบรมสารีริกธาตุขึ้นใน พ.ศ.1583
วัดพระธาตุแม่เจดีย์ มีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูไพบูล พัฒนาภิรักษ์ (ถวัลย์ ปรกกโม) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2498 ที่บ้านแม่เจดีย์ บวชเป็นสามเณรเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2511 เพื่อทดแทนพระคุณของแม่อุ้ยคำป้อผู้ให้การอุปการะเลี้ยงดูท่านมาตั้งแต่อายุ 2 ขวบ อุปสมบทเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2518 ท่านเริ่มมาปฏิบัติธรรมและพัฒนาวัดพระธาตุแม่เจดีย์ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2531 ท่านเป็นพระนักพัฒนา เป็นผู้นำชุมชนซ่อมสร้างวัดร้างแห่งนี้และฟื้นฟูป่าโดยรอบ ท่านสร้างวังมัจฉาในปี 2542 และเขื่อนดอยงูในปี 2549 ซึ่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในทุกวันนี้ ปลายปี 2550 ท่านได้พบแผ่นจารึกของเจ้าหญิงมุตะเทพี ลูกสาวของพระเจ้าอโศกมหาราช อีกทั้งพบพระทองคำและพระเครื่องที่ถูกฝังอยู่ที่วัดน้อยและบริเวณใกล้เคียง ท่านได้สร้างสวนสาธารณะบ้านชุ่มเมืองเย็นเพื่อเป็นที่พักผ่อนและเป็นศูนย์ รวมกิจกรรมต่างๆ ของชนทุกชั้น ทุกชาติ ทุกศาสนา ท่านยังคงคิดและมุ่งหน้าสร้างโครงการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนไปตลอดชีวิต
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจภายใน วัดพระธาตุแม่เจดีย์ เวียงป่าเป้า

วัดพระธาตุแม่เจดีย์
วัดพระธาตุแม่เจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดดอยแม่เจดีย์ หมู่ที่ 3 บ้านแม่เจีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ของเวียงป่าเป้า โดยถูกทิ้งรกร้างมาเป็นเวลา 968 ปี สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1583 โดยพระเจ้าอโนมารธามังช่อกษัตริย์พม่า เป็นวัดร้างตกสำรวจ คณะกรรมการจึงขอยกวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ ต่อมาจึงขอพระราชทานวิสูงคามสีมาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2549 ประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่มที่ 124 ตอนที่ 4 กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ
-นับตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ทางคณะสงฆ์พร้อมคณะกรรมการโดยมีพระไพบูลย์ พัฒนาภิรักษ์ ( ถวัลย์ ปรกกโม) ได้นำพระสงฆ์สามเณร ทายก ทายิกา มาบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ทั้งสององค์ ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงและได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก จึงได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นอีก 1 องค์ ทางทิศตะวันตก รวมเป็นเจดีย์ 3 องค์
-บริเวณโดยรององค์พระธาตุพระธาตุแม่เจดีย์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ชัน ภูมิทัศน์ทั่วไปร่มรื่น ต่อมาทางวัดได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดสร้างสวนป่าชุมชน และศูนย์สาธิตพระพุทธศาสนากับกรมป่าไม้ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยย่าคำมา เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษา ดูงาน และพักผ่อนหย่อนใจในพื้นพื้นที่ประมาณ 7,200 ไร่
พระธาตุแม่เจดีย์มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่ พ.ศ. 1583 โดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้แต่งตั้งฑูตไปศรีลังกาเพื่อขอคัมภีร์หระไตรปิฎกกับพระพุทธรูปทำด้วยแก้ว มรกต จากลับเรือถูกพายุพัดหลงทางมาที่ปากแม่น้ำโขง จึงถูกกษัตริย์กัมพูชายึดเรือและสิ่งของไว้ทั้งหมด จากนั้นเป็นเวลาเกือบปี พระเจ้าอโนรธามังช่อทราบเรื่องเข้า จึงได้แต่งตั้งฑูตไปกัมพูชาเพื่อขอคืนพระไตรปิฎก ส่วนพระแก้วมรกตหากกษัตริย์กัมพูชาอยากได้ก็จะไม่ขอคืน แต่กษัตริย์กัมพูชาไม่ยอมคืนให้แม้แต่อย่างเดียว พระเจ้าอโนรธามังช่อจึงยกทัพพม่ามาทางเชียงลาว (เชียงรายในปัจจุบัน) เมื่อมาถึงตำบลแม่เจดีย์ (ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ในปัจจุบัน) ก็ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาในปี พ.ศ. 1585 โดยองค์พระธาตุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ 2 ครั้ง ครั้งแรกโดยชาวเงี้ยว แต่ไม่ทราบเวลาที่แน่ชัด ครั้งที่ 2 โดยพระครูไพบูลพัฒนาภิรักษ์ (ถวัลย์ ปรกฺกโม) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแม่เจดีย์องค์ปัจจุบัน ขณะขึ้นมาปฏิบัติธรรม เมื่อได้เห็นสภาพชำรุดทรุดโทรมขององค์พระธาตุเนื่องจากกาลเวลาและขาดการ บำรุงรักษา จึงได้เป็นผู้นำร่วมกับพุทธศานิกชนผู้มีจิตศรัทธา ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร จนอยู่ในสภาพที่ทั่นคงและงดงามดังเช่นปัจจุบัน
สำหรับพระพุทธรูปทองคำนั้น เพิ่งมีการขุดค้นพบเมื่อเดือนธันวาคม 2550 จากการตัดถนนเพื่อปรับพื้นที่ทำถนนจากสวนสาธารณะบ้านชุ่มเมืองเย็นไปยังถนน อีกเส้นหนึ่ง ทำให้พบตลับสัมฤทธิ์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและวัตถุโบราณจำนวนหนึ่ง และในคืนนั้นเองท่านพระครูได้นิมิตถึง พระภิกษุสงฆ์ชื่อครูบาแสงมา มาบอกว่าจะพาไปเอาพระพุทธรูปทองคำและสมบัติต่างๆในบริเวณพื้นที่ที่ตัดถนน ซึ่งเป็นของนายอ้าย แสนบ่อแก้ว และกำชับให้สร้างพระเจดีย์ทรงพระเจดีย์บนดอยตุงองค์เดิมพร้อมอุโบสถหลัง หนึ่งด้วย เมื่อสะดุ้งตื่นท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปยังจุดที่ได้นิมิตขึ้น และขุดพบพระพุทธรูปทองคำ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง และพระพุทธรูปสิงห์สาม พร้อมสายสังวาลย์

เดินตามทางขึ้นเขาหลังพระอุโบสถ ไปประมาณ 200 เมตร จะเห็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมทรงสูง ยอดแหลมสวยงาม เป็นลักษณะของเจดีย์ที่สร้างโดย พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ซึ่งจะมีจารึกความเป็นมาให้ท่านทราบ ติดอยู่ด้านข้างของพระเจดีย์

คุ้มครูบา
เดินต่อไปอีกเล็กน้อย จะเจอ “คุ้มครูบา ” เป็นประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย รูปเหมือนหลวงพ่อ อีกหลายองค์ เดินต่อจาก”คุ้มครูบา”

มณฑปพระพุธบาท
ขึ้นไปอีกประมาณ 100 เมตร ก็จะเจอบันใดทางขึ้น “มณฑปพระพุธบาท” รอบๆบริเวณวัดร่มรื่นไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ให้ความสดชื่นตั้งแต่ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่บริเวณวัด ยิ่งถ้า มีเวลามากพอที่จะอยู่ชมให้ทั่วบริเวณวัดแล้วยิ่งน่าประทับใจมาก ไม่ว่าจะเป็นบริวเณ รอบๆ พระธาตุแม่เจดีย์ หรือเดินขึ้นไปทางหลังพระอุโบลถ หรือลงไปสู่บ้านชุ่มเมืองเย็น และวังมัจฉา

พิพิธภัณฑ์พระเครื่อง
ทางวัดพระธาตุแม่เจดีย์ โดยท่านพระครูไพบูลย์พัฒนาภิรักษ์ เจ้าอาวาส ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อรวบรวมพระเครื่อง พระบูชา รุ่นต่างๆ และวัตถุโบราณต่างๆ ที่ขุดได้จากกรุวัดน้อย ซึ่งเป็นวัดร้างส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นของสะสมของท่านพระครูและญาติโยมนำมาบริจาค เพื่อเก็บรักษาไว้เห็นอณุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ต่อไป
วังมัจฉา

ก่อนที่จะขึ้นไปถึงพระธาตุ จะมีทางแยกด้นขวามือ จะเห็นป้าย “วังมัจฉา” ถนนคอนกรีตอย่างดี ร่มรื่น จะนำท่านไปชมวังมัจฉา ที่ซึ่งเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีปลานา นา พันธู์ ขนาดใหญ่ นับล้านตัว ให้ท่านได้ชม มีร้านขายอาหารปลา เข้าชมฟรี แต่ถ้าท่านนำรถเข้าไปจะเก็บเฉพาะค่ารถ คันละ 20 บาท
สำหรับสาธุชนทุกท่านที่จะร่วมทำบุญกับทางวัด สามารถติดต่อกับเจ้าอาวาสวัดได้ที่ โทร.085 – 7063570
เวียงกาหลง
อยู่ห่างจากที่ว่าการอ.เวียงป่าเป้าประมาณ 16 กม.
โดยแยกจากถนนสายเชียงราย-เชียงใหม่ บริเวณบ้านแม่เจดีย์ไปทางอ.วังเหนือประมาณ 3
กม. ในบริเวณเวียงกาหลงนี้มีซากเตาทำเครื่องถ้วยชามอยู่หลายแห่ง
เรียกกันว่า เตากาหลง ลักษณะของเตาก่อด้วยอิฐในพื้นที่ราบเป็นรูปประทุนเหมือนกระดองเต่า
ขนาดเล็กวัดได้กว้างราว 2 ม. ยาว 3 เมตร
ขนาดใหญ่กว้าง 4-5 ม. ยาว 7-9 ม.
มีทางเข้าด้านหน้าทางเดียว
เวียงกาหลง








น้ำพุร้อนแม่ขะจาน

เป็นจุดพักรถของนักท่องเที่ยว
มีร้านค้า จำหน่ายของที่ระลึกพวก เสื้อผ้า งานไม้ เครื่องเงิน อาหาร ฯลฯ
อยู่ต.แม่เจดีย์ใหม่
เป็นโป่งน้ำร้อนธรรมชาติมีน้ำผุดจากพื้นดินตามลำธาร น้ำร้อนมีอุณหภูมิสุงถึง
95 องศาเซลเชียส นักท่องเที่ยวนิยมซื้อไข่มาต้ม
ใช้เวลาเพียง 7 นาทีก็สุก มีห้องน้ำให้อาบน้ำแร่ ราคา 50 บาท
เครื่องเคลือบดินเผา
เวียงกาหลง

เวียงกาหลงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
เป็นแหล่งกำเนิด เครื่องเคลือบดินเผา เวียงกาหลงโบราณ
ที่มีอายุนับพันปีที่ใหญ่ที่สุดของล้านนา มีเตาเผาโบราณ มีลักษณะเด่นไม่เหมือนใคร
คือ
1. มีความบางเบา
2. มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียงกาหลง
3. มีประวัติความเป็นมานับพันปี
4. ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี
5. ใช้ดินที่เป็นราวภูเขาไฟ ปั้นขึ้นรูป
เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นเครื่องใช้สำหรับ ชนชั้นสูง การใช้เครื่องปั้นดินเผาบ่งบอกถึงรากฐาน ที่ยาวนานของวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงการตั้งรกรากที่มั่นคง ในแหล่งนั้นๆ จนสามารถตั้งแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้สอยได้ ประการสำคัญ บริเวณนั้นต้องเป็นแหล่ง วัตถุดิบที่สำคัญ คือ มีดินขาวที่มีคุณภาพดี เนื่องจาก ดินชนิดนี้สามารถนำมาทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความ แข็งแกร่ง สามารถทนความร้อนได้ดี จนสามารถพัฒนา ให้เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพสูง
1. มีความบางเบา
2. มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียงกาหลง
3. มีประวัติความเป็นมานับพันปี
4. ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี
5. ใช้ดินที่เป็นราวภูเขาไฟ ปั้นขึ้นรูป
เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เป็นเครื่องใช้สำหรับ ชนชั้นสูง การใช้เครื่องปั้นดินเผาบ่งบอกถึงรากฐาน ที่ยาวนานของวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงการตั้งรกรากที่มั่นคง ในแหล่งนั้นๆ จนสามารถตั้งแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้สอยได้ ประการสำคัญ บริเวณนั้นต้องเป็นแหล่ง วัตถุดิบที่สำคัญ คือ มีดินขาวที่มีคุณภาพดี เนื่องจาก ดินชนิดนี้สามารถนำมาทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีความ แข็งแกร่ง สามารถทนความร้อนได้ดี จนสามารถพัฒนา ให้เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพสูง
แหล่งอ้างอิง
http://pic.th.gplace.com//%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87/-/2973
- http://place.thai-tour.com/chiangrai/wiangpapao/1226
วีดีโอ เครื่องเคลือบดินเผา เวียงกาหลง
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/mzdksa__4Zk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
รูปภาพ สถานที่ท่องเที่ยว เครื่องเคลือบดินเผา เวียงกาหลง










อุทยานแห่งชาติขุนแจ

เดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางหลวงหมายเลข 118) จะถึงที่ทำการอุทยานฯ
ซึ่งตั้งอยู่ริมทางบริเวณ กม.ที่ 55-56 ผู้ประสงค์จะเดินทางท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ
ตามเส้นทางเดินป่า ซึ่งผ่านน้ำตกและยอดดอยต่างๆ
จำเป็นต้องอาศัยคนนำทางและต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับค้างแรมมาเอง
โดยติดต่อทำหนังสือถึงอุทยานแห่งชาติขุนแจ ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า
จ.เชียงราย 57260 ล่วงหน้าเป็นเวลา 15 วันก่อนเดินทาง
แหล่งอ้างอิง
http://place.thai-tour.com/chiangrai/wiangpapao/1224
รูปภาพสถานที่ท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติขุนแจ

